เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยคำว่า เวทนากฺขนฺโธ เป็นต้น โดยกระทำ
ฉันทะเป็นต้นไว้ภายใน. คำว่า เต ธมฺเม ได้แก่ อรูปขันธ์ทั้ง 4 เหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง คำนี้ ท่านกล่าวว่า ธรรมทั้ง 3 (คือ ฉันทะ สมาธิ ปธานสังขาร)
มีฉันทะเป็นต้น. คำว่า อาเสวติ เป็นต้น มีอรรถตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว
นั่นแหละ. แม้ในนิทเทสแห่งอิทธิบาทที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดย
นัยนี้เหมือนกัน.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ท่านกล่าวไว้อย่างไร พึงทราบดังนี้.

กรรมฐานอันถึงซึ่งที่สุดของภิกษุ 4 จำพวก


ท่านกล่าวกรรมฐานของภิกษุ 4 จำพวก อันถึงที่สุด คือ ภิกษุพวก
หนึ่งอาศัยฉันทะ เมื่อมีความต้องการด้วยฉันทะในกุศลธรรมของผู้ใคร่เพื่อจะ
ทำมีอยู่ เธอก็กระทำฉันทะให้เป็นใหญ่ ทำฉันทะให้เป็นธุระ ทำฉันทะให้เป็น
หัวหน้า ด้วยการคิดว่า เราจักยังโลกุตตรธรรมให้เกิด ความหนักใจของเรา
ด้วยการเกิดขึ้นแห่งฉันทะนี้ไม่มีดังนี้ แล้วจึงยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น. ภิกษุ
พวกหนึ่งอาศัยวิริยะ. ภิกษุพวกหนึ่งอาศัยจิตตะ. ภิกษุพวกหนึ่งอาศัยปัญญาอยู่
เมื่อมีความต้องการด้วยปัญญา เธอก็จะกระทำปัญญาให้เป็นใหญ่ ทำปัญญาให้
เป็นธุระ ทำปัญญาให้เป็นหัวหน้า ด้วยการคิดว่า เราจักยังโลกุตตรธรรมให้
เกิดขึ้น ความหนักใจด้วยการเกิดขึ้นแห่งปัญญานี้ของเราไม่มี ดังนี้แล้ว จึง
ยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น.
เหมือนอย่างว่า บุตรของอำมาตย์ 4 คน ปรารถนาฐานันดรแล้วเที่ยว
ไปอยู่ คนหนึ่งอาศัยการบำรุง. คนหนึ่งอาศัยความกล้า. คนหนึ่งอาศัยชาติ
คนหนึ่งอาศัยความรู้. คือ อย่างไร. คือว่า ในบุตรอำมาตย์เหล่านั้น คนที่
หนึ่ง เมื่อมีความต้องการด้วยฐานันดร จึงคิดว่า เราจักได้ฐานันดรนั้น ดังนี้

แล้วอาศัยการบำรุง เพราะความที่ตนเป็นผู้มีปกติทำความไม่ประมาทในการบำรุง.
คนที่สอง แม้มีความไม่ประมาทในการบำรุงแล้ว ยังคิดว่า บางคน เมื่อ
สงครามเกิดขึ้น ย่อมไม่อาจเพื่อจะตั้งมั่น ก็แลประเทศชายแดนของพระราชา
จักกำเริบแน่แท้ เมื่อประเทศชายแดนกำเริบแล้ว เราจักกระทำการงานในหน้า
ที่แห่งรถ (ขับรถ) จักให้พระราชาพอพระทัยแล้ว ก็จักให้นำมาซึ่งฐานันดร
นั้น ดังนี้ ชื่อว่า อาศัยแล้วซึ่งความเป็นผู้กล้าหาญ. คนที่สาม แม้ความเป็นผู้
กล้าหาญมีอยู่ ก็คิดว่า คนบางคนเป็นผู้มีชาติต่ำ ชนทั้งหลายเมื่อให้ฐานันดรเขา
จักให้แก่เรา เพราะชำระชาติแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า อาศัยแล้วซึ่งชาติ. คนที่สี่ แม้
มีชาติ ก็คิดว่า บางคนไม่มีมนต์ (ความรู้) มีอยู่ เมื่อการงานที่พึงกระทำ
ด้วยมนต์ (ความรู้) เกิดขึ้นแล้ว เราผู้มีมนต์ จักให้พระราชานำมาซึ่งฐานันดร
นั้น ดังนี้ จึงชื่อว่า อาศัยแล้วซึ่งมนต์. บุตรอำมาตย์เหล่านั้นทั้งหมดถึงแล้ว
ซึ่งฐานันดรโดยกำลังแห่งภาวะอันเป็นที่อาศัย (โดยความสามารถ) ของตน ๆ.
ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้อาศัยฉันทะ เมื่อมีความต้องการ
ด้วยกุศลธรรมฉันทะของผู้ใคร่เพื่อจะทำมีอยู่ เธอจึงทำฉันทะให้
เป็นใหญ่ ทำฉันทะให้เป็นธุระ ทำฉันทะให้เป็นหัวหน้า
โดยคิดว่า
เราจักยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น ความหนักใจ ด้วยการเกิดขึ้นแห่งฉันทะของ
เราไม่มี ดังนี้ แล้วจึงยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น บัณฑิตพึงเห็นเหมือนบุตร
อำมาตย์ ผู้ไม่ประมาทในการบำรุงแล้ว จึงได้ฐานันดร ราวกะพระรัฐบาล
เถระ จริงอยู่ ท่านพระรัฐบาลเถระนั้น ทำฉันทะให้เป็นธุระแล้วยังโลกุตตร-
ธรรมให้เกิดขึ้น.
ภิกษุผู้ทำวิริยะให้เป็นใหญ่ ทำวิริยะให้เป็นธุระ ทำวิริยะให้
เป็นหัวหน้า แล้วยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น
บัณฑิตพึงเห็นเช่นกับ

บุตรอำมาตย์ ผู้ยังพระราชาให้พอพระทัย โดยความเป็นผู้กล้าหาญแล้วได้
ฐานันดร ราวกะพระโสณเถระ จริงอยู่ท่านพระโสณเถระนั้น ทำวิริยะให้เป็น
ธุระแล้วยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น.
ภิกษุผู้ทำจิตตะให้เป็นใหญ่ ทำจิตตะให้เป็นธุระ ทำจิตตะ
ให้เป็นหัวหน้า แล้วยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น
บัณฑิตพึงเห็นเช่นกับ
บุตรอำมาตย์ ผู้ได้ฐานันดร เพราะความถึงด้วยดีแห่งชาติ เป็นราวกะว่าพระ-
สัมภูตเถระ จริงอยู่ พระสัมภูตเถระนั้น ทำจิตตะให้เป็นธุระแล้วยังโลกุตตร-
ธรรมให้เกิดขึ้น.
ภิกษุผู้ทำวีมังสาให้เป็นใหญ่ ทำวีมังสาให้เป็นธุระ ทำวีมังสา
ให้เป็นหัวหน้า แล้วยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น
บัณฑิตพึงเห็นเช่นกับ
บุตรอำมาตย์ผู้ได้ฐานันดร เพราะอาศัยมนต์ ราวกะพระโมฆราชเถระ จริงอยู่
ท่านพระโมฆราชเถระนั้น ทำวีมังสาให้เป็นธุระแล้วยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น.
อนึ่ง ในอธิการนี้ ธรรมทั้ง 3 กล่าวคือ ฉันทะ สมาธิ และปธาน-
สังขาร เป็นอิทธิด้วย เป็นอิทธิบาทด้วย ส่วนขันธ์ 4 อันสัมปยุตกันที่เหลือ
เป็นอิทธิเท่านั้น. ธรรมทั้ง 3 (อย่างละ 3) แม้กล่าวคือ วิริยะ, จิตตะ, วิมังสา,
สมาธิ และปธานสังขาร ย่อมเป็นอิทธิด้วย เป็นอิทธิบาทด้วย ส่วนขันธ์ 4 อัน
สัมปยุตกันที่เหลือ เป็นอิทธิบาทเท่านั้น.
นี้เป็นกถา ว่าโดยความไม่แตกต่างกันก่อน.
อนึ่ง เมื่อว่าโดยความแตกต่างกัน ฉันทะ ชื่อว่า อิทธิ. นามขันธ์ 4
อันอบรมแล้วด้วยฉันทธุระ ชื่อว่า ฉันทิทธิบาท. ธรรมทั้งสองคือ สมาธิ และ
ปธานสังขาร ย่อมเข้าไปในฉันทิทธิบาท ด้วยสามารถแห่งสังขารขันธ์ แม้จะ
กล่าวว่า ธรรมทั้งสองนั้น เข้าไปแล้วในบาท ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน ในธรรม

เหล่านั้นนั่นแหละ สมาธิ ชื่อว่า อิทธิ, ขันธ์ 4 อันอบรมแล้วด้วยสมาธิธุระ ชื่อว่า
สมาทิทธิบาท. ธรรมทั้งสองคือ ฉันทะ และปธานสังขาร ย่อมเข้าไปในสมา-
ธิทธิบาท ด้วยสามารถแห่งสังขารขันธ์. แม้จะกล่าวว่า ธรรมทั้งสองนั้นเข้าไป
แล้วในบาท ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน. ในธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ ปธานสังขาร
ชื่อว่า อิทธิ. ขันธ์ 4 อันอบรมแล้วด้วยปธานสังขาร ชื่อว่า ปธานสังขาริทธิบาท.
ธรรมทั้งสองคือ ฉันทะและสมาธิ ย่อมเข้าไปในปธานสังขาริทธิบาท ด้วย
สามารถแห่งสังขารขันธ์. เเม้จะกล่าวว่า ธรรมทั้งสองนั้นเข้าไปแล้วในบาท
ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน.
ในธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ วิริยะ ชื่อว่า อิทธิ, จิตตะ ชื่อว่า อิทธิ,
วีมังสา
ชื่อว่า อิทธิ ฯลฯ แม้จะกล่าวว่า ธรรมทั้งสองนั้นเข้าไปแล้วในบาท
ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน. นี้ ชื่อกถาโดยความต่างกัน.
ก็ในอธิการที่ท่านได้กล่าวแล้วนี้ หาใช่เป็นของใหม่ไม่ เป็นคำที่ท่าน
กระทำอธิบายไว้แจ่มแจ้งแล้ว ก็ถือเอาทีเดียว. คืออย่างไร คือว่า ธรรม 3
อย่างนี้คือ ฉันทะ สมาธิ ปธานสังขาร เป็นอิทธิก็ได้ เป็นอิทธิบาท
ก็ได้ ส่วนขันธ์ 4 อันสัมปยุตกันที่เหลือ เป็นเพียงอิทธิบาทเท่านั้น.

จริงอยู่ ธรรม 3 เหล่านี้ เมื่อสำเร็จย่อมสำเร็จพร้อมกันกับขันธ์ 4 อันสัม-
ปยุตกันนั่นแหละ เว้นจากขันธ์ 4 ที่สัมปยุตกันแล้วหาสำเร็จได้ไม่. อนึ่ง
ขันธ์ 4 อันสัมปยุตกัน ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ ชื่อว่าเป็นบาท
เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัย. คำว่า อิทฺธิ หรือว่า อิทฺธิปาโท มิใช่
เป็นชื่อของธรรมอะไร ๆ อย่างอื่น คือ เป็นชื่อของขันธ์ 4 อันสัมปยุตกันนั่น
แหละ. ธรรมทั้ง 3 คือ วิริยะ, จิตตะ, วีมังสาสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ ก็
เป็นชื่อของขันธ์ 4 เท่านั้นเหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า บุพภาคชื่อว่า อิทธิบาทอันเป็นบุพภาค
ปฏิลาภะ ชื่อว่า อิทธิ อันเป็นปฏิลาภะ. พึงแสดงเนื้อความนี้ ด้วยอุปจาระ
หรือวิปัสสนา.
จริงอยู่บริกรรมของปฐมฌาน ชื่อว่า อิทธิบาท. ปฐมฌาน ชื่อว่า
อิทธิ.
บริกรรมแห่งทุติยะ ตติยะ จตุตถะ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญ-
จายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ชื่อว่า อิทธิบาท,
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ชื่อว่า อิทธิ.
วิปัสสนาแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าอิทธิบาท, โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า
อิทธิ
วิปัสสนาแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ชื่อว่า
อิทธิบาท. อรหัตตมรรค ชื่อว่า อิทธิ.
การแสดงแม้ด้วยปฏิลาภะ ก็ควรเหมือนกัน . จริงอยู่ ปฐมฌาน
ชื่อว่า อิทธิบาท. ทุติยฌาน ชื่อว่า อิทธิ.
ทุติยฌาน ชื่อว่า อิทธิบาท. ตติยฌาน ชื่อว่า อิทธิ. ฯลฯ
อนาคามิมรรค ชื่อว่า อิทธิบาท. อรหัตตมรรค ชื่อว่า อิทธิ.
ถามว่า ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าอะไร ชื่อว่า บาท เพราะ
อรรถว่าอะไร ?
ตอบว่า ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่า เป็นที่สำเร็จนั่นแหละ ชื่อว่า
บาท เพราะอรรถว่า เป็นที่อาศัยนั่นแหละ. ด้วยประการฉะนี้ คำว่า
อิทฺธิ หรือ อิทฺธิปาโท แม้ในที่นี้ จึงมิใช่เป็นชื่อของธรรมอะไรอื่น แต่เป็น
ชื่อของขันธ์ 4 อันสัมปยุตกันนั่นแล.
ก็เมื่อข้าพเจ้ากล่าวแล้วอย่างนี้ อาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคำนี้ว่า ถ้าว่า
คำนี้พึงเป็นชื่อของขันธ์ 4 นั่นแหละไซร้ พระศาสดาก็ไม่พึงทรงนำชื่ออุตตร-

จูฬภาชนีย์มาไว้ข้างหน้า ก็ในอุตตรจูฬภาชนีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ฉันทะเท่านั้น ชื่อว่า ฉันทิทธิบาท วิริยะเท่านั้น จิตตะเท่านั้น วีมังสาเท่านั้น
ชื่อว่า วีมังสิทธิบาท ดังนี้ ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่าสภาวะที่ยังไม่สำเร็จแล้ว
ชื่อว่า อิทธิ สภาวะที่สำเร็จแล้ว ชื่อว่า อิทธิบาท ดังนี้. ข้าพเจ้าปฏิเสธถ้อยคำ
ของอาจารย์เหล่านั้นแล้ว จึงทำการสันนิษฐานว่า "อิทธิก็ดี อิทธิบาทก็ดี
เป็นภาวะอันกระทบแล้วด้วยไตรลักษณ์" ดังนี้ ในสุตตันตภาชนีย์นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสอิทธิบาททั้งหลายเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระดังพรรณนามา
ฉะนี้ แล.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


ในอภิธรรมภาชนีย์ มีอรรถตื้นทั้งนั้น. ก็บัณฑิตพึงนับจำนวน
ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ จริงอยู่ ในฐานะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า
"ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันท-
สมาธิปธานสังขาร
" ดังนี้ ท่านจำแนกโลกุตตระไว้ 4,000นัย แม้ใน
วิริยสมาธิเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. โดยทำนองนั้น ในอุตตรจูฬภาชนีย์ ท่าน
จึงจำแนกอิทธิบาทแม้ทั้งหมดไว้ 32,000 นัย ด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็น
หมวด 4 หมวดๆละ 8 นัย คือ ในฉันทิทธิบาท 4,000 นัย ใน วิริยะ จิตตะ
วีมังสา อย่างละ 4,000 นัย (4 * 8 = 32). บัณฑิตพึงทราบคำนี้ว่า ท่านกล่าว
แล้วในอภิธรรมภาชนีย์ อันประดับเฉพาะแล้วด้วยนัย 32,000 นัย ด้วย
สามารถแห่งอิทธิบาททั้งหลาย อันเป็นโลกุตตระที่บังเกิดแล้วนี้นั่นแหละ ดัง
พรรณนามาฉะนี้.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ